โลโก้หินโคน222

th ไทย en English

pitsunakba01

pitsunakba02

ร้อนนี้ ระวัง! พิษสุนัขบ้า
โรคพิษสุนัขบ้ายังไม่มียาที่รักษาให้หายได้

โรคพิษสุนัขบ้าคืออะไร
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อทางระบบประสาทที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งก่อให้เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาทส่วนกลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด เช่น สมอง ไขสันหลัง การเคลื่อนไหว และอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 เป็นต้น

สัตว์และคนติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้จากไหน
พาหะนำโรคคือสัตว์เลือดอุ่นเลี้ยงลูกด้วยนมที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าเช่น สุนัข แมว โค กระบือ สุกร หนู ลิง ชะนี กระต่าย ค้างคาว ฯลฯ ในประเทศไทยสัตว์พาหะนำโรคที่สำคัญคือ สุนัขและแมว

สัตว์และคนติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าทางใดได้บ้าง
ติดเชื้อได้จากการสัมผัสโรคโดยรับเชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคทางบาดแผลจากการถูกกัด ข่วน หรือเลีย และทางเยื่อเมือกในตาและปากเมื่อถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลีย

หากติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าแล้วรักษาให้หายได้อย่างไร
ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ หากผู้ป่วยมีอาการของโรคแล้ว จะเสียชีวิตเกือบ 100% อย่างไรก็ตาม หากได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการรักษาอย่างทันท่วงทีและถูกวิธีหลังการสัมผัสโรค จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้อย่างมาก

สัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ามีอาการอย่างไร
สัตว์เลี้ยงอาจมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเจน ใน 2 ลักษณะคือ
1. ดุร้ายก้าวร้าวกว่าปกติ หงุดหงิด วิ่งไล่กัด
2. เซื่องซึมกว่าปกติ ดูอ่อนเปลี้ยเพลียแรง
หรืออาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัด อย่างไรก็ตาม อาการต่อไปนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยได้ เช่น ปากอ้าค้าง ลิ้นห้อย น้ำลายไหล กินกลืนลำบาก เสียงร้องเปลี่ยน การเคลื่อนไหวทรงตัวไม่ปกติ ชักกระตุก เป็นต้น กรณีไม่แน่ใจ ควรนำสัตว์เลี้ยงใส่กรงไปพบสัตว์แพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ

เมื่อถึงฤดูร้อนควรนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าใช่หรือไม่
โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ตลอดปี ในฐานะเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่มีความรับผิดชอบ ควรพาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตามกำหนดเวลานัดหมายปีละครั้งทุกปี เพื่อความ

สามารถป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไรบ้าง
1.พาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัควีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ครบ 2 ครั้งในขวบปีแรก (อายุ 3 เดือน และ 6 เดือน)
2.พาไปฉีดกระตุ้นซ้ำเป็นประจำตามกำหนดนัดหมายทุกปีหลังจากนั้น
3.หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับสุนัขหรือแมวแปลกหน้า

สามารถป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงไม่ให้สัตว์ที่เป็นพาหะกัดโดยเฉพาะสุนัขที่เราไม่ทราบประวัติที่ชัดเจน ด้วยการเรียนรู้พฤติกรรมสุนัขและวิธีปฏิบัติตนไม่ให้ถูกสุนัขกัดเช่น หลีกเลี่ยงไม่ให้เข้าใกล้หรือจับต้อง
- สุนัขแปลกหน้า
- สุนัขที่กำลังกินอาหารหรือกัดแทะสิ่งของ เพราะอาจหวงอาหาร หรือสิ่งของนั้น
- สุนัขแม่ลูกอ่อน เพราะอาจหวงลูก
- สุนัขที่ผูกล่ามไว้ เพราะอาจเครียด รู้สึกไม่ปลอดภัย หรือกลัว
- สุนัขที่นอนหลับหรือไม่เห็นว่ามีคนกำลังเข้ามาใกล้ เพราะอาจตกใจการร่วมรณรงค์ส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ในชุมชนถึงความจำเป็นของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สุนัขและแมว ยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่สัตว์เลี้ยง ตัวคุณ และคนในชุมชนอีกด้วย

หากถูกสุนัขหรือแมวกัดควรทำอย่างไร
การปฐมพยาบาลเบื้อต้นหลังถูกกัดมีความสำคัญมาก ไม่ว่าสัตว์ตัวนั้นจะเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนหรือไม่ก็ตาม ให้ล้างบาดแผลอย่างดีด้วยสบู่และน้ำสะอาดทันทีหลายๆครั้ง อย่างน้อย 10 นาที เพื่อลดปริมาณเชื้อบริเวณแผล จากน้ั้นใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน และรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการและรับการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งมักรวมถึงการเริ่มโปรแกรมวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (จำนวนเข็มจะมากน้อยแล้วแต่กรณี) และควรแยกขังดูแลสัตว์คู่กรณีไว้สังเกตอาการ 10 วัน